การอ่านค่าความต้านทานแบบแถบสี
การอ่านค่าตัวต้านทานแบบแถบสี สามารถดูได้จากตาราง ซึ่งสามารถอ่านได้ทั้งแบบ 4 แถบสีและแบบ 5 แถบสี (ถ้าอ่านแบบ 4 แถบสีเราจะข้ามแถวที่ 3 ไป)
สี | แถวที่ 1 | แถวที่ 2 | แถวที่ 3 | ตัวคูณ | ค่าความผิดพลาด |
ดำ | 0 | 0 | 0 | 1 | 1% |
น้ำตาล | 1 | 1 | 1 | 10 | 2% |
แดง | 2 | 2 | 2 | 100 | |
ส้ม | 3 | 3 | 3 | 1K | |
เหลือง | 4 | 4 | 4 | 10K | 0.5% |
เขียว | 5 | 5 | 5 | 100K | 0.25% |
น้ำเงิน | 6 | 6 | 6 | 1M | 0.10% |
ม่วง | 7 | 7 | 7 | 10M | 0.05% |
เทา | 8 | 8 | 8 | ||
ขาว | 9 | 9 | 9 | ||
ทอง | 0.1 | 5% | |||
เงิน | 0.01 | 10% | |||
ไม่มีสี | 20% |
ตัวอย่างการอ่านค่าความต้านทาน
ตัวอย่างที่ 1
ตัวต้านทานในรูป มีสี น้ำตาล เทา เหลือง และ ทอง (แบบ 4 แถบสี) ตามลำดับ ค่าที่ได้คือ
- แถวที่ 1 = น้ำตาล = 1
- แถวที่ 2 = เทา = 8
- ตัวคูณ = เหลือง =10K
- ค่าความผิดพลาด = ทอง = 5%
18 X 10K = 180K ค่าความผิดพลาด 5 %
ตัวอย่างที่ 2
ตัวต้านทานในรูป มีสี เขียว น้ำเงิน เหลือง และ ทอง (แบบ 4 แถบสี) ตามลำดับ ค่าที่ได้คือ
- แถวที่ 1 = เขียว = 5
- แถวที่ 2 = น้ำเงิน = 6
- ตัวคูณ = เหลือง =10K
- ค่าความผิดพลาด = ทอง = 5%
56 X 10K = 560K ค่าความผิดพลาด 5 %
การเลือกขนาดกำลังของตัวต้านทานไปใช้ในวงจร
ตัวต้านทานที่เราพบเห็นจะมีขนาดต่าง ๆ กัน ทั้งตัวเล็กและใหญ่ ถึงแม้ว่าค่าความต้านทานจะเท่ากันก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าเราต้องทำขนาดให้เหมาะกับงาน ตัวเล็ก ๆ ใช้กับงานที่มีกระแสไหลผ่านน้อย ๆ พื้นที่ในวงจรจำกัด ส่วนตัวขนาดใหญ่ใช้ในวงจรที่มีกระแสไหลผ่านสูง หากนำตัวต้านทานขนาดเล็กไปใช้ในงานที่มีกระแสไหลผ่านมาก ๆ จะทำให้ตัวต้านทานร้อนและไหม้ ในที่สุด ตัวต้านทานแบบคาร์บอนจะมีขนาดเล็ก เช่น 1/8 -1 หรือ 2 วัตต์ แต่พวกที่ทำจากลวดพันมักจะทนกำลังได้สูงกว่าเช่นตั้งแต่ 3 -200 วัตต์ เป็นต้น
ตัวอย่างตัวต้านทานแบบลวดพัน (Wire Wound)
HS8JYX ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 99/31 ถ.เจริญสุข ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.กระบี่ 81000